The Integration of Feng Shui with Architectural Design ; Feng Shui Knowledge Center (Thailand)
  ฮวงจุ้ย วิทยาศาสตร์แห่งการบริหารพลังงานตามหลักสถาปัตยกรรมศาสตร์เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์
  อ.ตะวัน เลขะพัฒน์ โทร. 080-298-9998
 
 
 

หน้าแรก

ความรู้เรื่องฮวงจุ้ย

ข่าวสารจากทางสถาบัน

กรณีศึกษาจริง

“ฉลูทอง” 2564 จุดเริ่มต้นแห่งยุคทอง

มุ่งหามงคล หลีกเลี่ยงเคราะห์ภัย ปีหนูทอง 63

เสริมดีแก้ชง พิชิตดวงปีกุน 62

เปิดความลับฟ้าดิน ปีจอ 61

เจาะลึก ปีระกาไฟ 60

หาโอกาสผ่าวิกฤติ "ปีวอก" 59

รู้ทันฟ้ารับปี “มะแม” 58

ถอดรหัสฟ้ารับปีม้าไฟ 57

รู้ทันฮวงจุ้ยปีมะเส็ง 56 "ฝนยั่วไฟ"

• ฮวงจุ้ยดีรับปีมังกรคะนองน้ำ 55

• เสริมฮวงจุ้ยรับปี
กระต่ายตื่นทอง 54

ฮวงจุ้ยดีรับปีเสือดุ 53

ประวัติของศาสตร์ฮวงจุ้ย

วิทยาศาสตร์ของศาสตร์ฮวงจุ้ย

ฮวงจุ้ยกับชีวิตมนุษย์

สาส์นจาก อ.ตะวัน

ถอดรหัสทิศดีปี 52

หลักสูตรการอบรม

ขอบเขตการให้คำปรีกษา

ประวัติ อ.ตะวัน เลขะพัฒน์

ติดต่อ อ.ตะวัน เลขะพัฒน์

 
 

 

มังกรน้ำโค้งโอบ โค้งเชือดเฉือน และ กระแสตรง
การพิจารณาแนวกระแสมังกรน้ำ (Water Dragon) นั้น สามารถพิจารณาได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ กระแสแบบโค้งโอบ (Inside Curve-Water Dragon) กระแสแบบโค้งเชือดเฉือน (Outside Curve-Water Dragon) และสุดท้ายคือแบบกระแสที่เป็นเส้นตรง (Straight Water Dragon) ซึ่งลักษณะของชัยภูมิที่เจอกระแสในแต่ละแบบดังกล่าวนั้นถือว่ามีเกรดในทางฮวงจุ้ยที่แตกต่างกันไปครับ โดยในบทความนี้เราจะดูมังกรน้ำที่มาจากกระแสน้ำจริงๆ ยังไม่รวมมังกรน้ำที่ประยุกต์มาเป็นกระแสของถนนสำหรับฮวงจุ้ยในปัจจุบันครับ
โดยหากเราพิจารณาถึงแนวกระแสมังกรน้ำ ในรูปแบบของแม่น้ำจริงๆ นั้นเราถือว่าแนวกระแสแบบโค้งโอบนั้นเป็นรูปแบบของมังกรน้ำที่มีเกรดทางชัยภูมิดีที่สุดครับ เพราะโค้งโอบของสายน้ำหรือแม่น้ำนั้น ด้านในของโค้งจะเป็นด้านที่มีพลังงานมาสะสมตัวสูง โดยเราสามารถดูได้จากการที่ภายในด้านในของโค้งโอบจะมีตะกอนที่ถูกกระแสน้ำพามาสะสมตัวตลอด ทำให้ที่ดินภายในโค้งโอบนั้นเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา การที่ตะกอนมาสะสมตัวที่ด้านในของโค้งโอบได้นั้น ก็แสดงถึงการที่พลังงานนั้นถูกพามาสะสมตัวเช่นเดียวกัน
ซึ่งเราสามารถเห็นชัยภูมิ Classic ของการเลือกทำเลโค้งโอบ ได้จากชัยภูมิของพระบรมหาราชวัง ซึ่งเป็นการเลือกทำเลการบริหารราชการบ้านเมืองตั้งแต่สมัยรัชการที่ 1 ของราชวงศ์จักรี ทีได้ทรงเลือกกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีและได้เลือกทำเลโค้งโอบของกระแสแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสถานที่ตั้งพระบรมหาราชวัง จึงเป็นที่มาของความเจริญรุ่งเรืองของการบริหารราชการแผ่นดินมาโดยตลอด

1

ภาพแสดงกระแสมังกรน้ำโค้งโอบบริเวณพระบรมมหาราชวัง

  

หรือหากมองถึงอาคารสิ่งปลูกสร้างในสมัยใหม่ที่ถือหลักการของกระแสมังกรน้ำ ก็ไม่ใกล้ไม่ไกลที่ไหนได้แก่ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานใหญ่นั่นเอง ที่ได้ยึดเอากระแสโค้งโอบของแม่น้าเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีมาเป็นจุดตั้งสำนักงานใหญ่แห่งใหม่นั่นเอง

2 

ภาพแสดงกระแสมังกรน้ำโค้งโอบบริเวณธนาคารกสิกรไทยสำนักงานใหญ่

ในทางกลับกันหากเป็นกระแสในรูปแบบโค้งเชือดเฉือนหรือบริเวณด้านนอกโค้งนั้น ถือว่าเป็นกระแสที่โดนพาเอาที่ดินออกไปจากโค้งตลอดจึงถือว่าเป็นชัยภูมิฮวงจุ้ยที่มีเกรดรองลงไป ในทางฮวงจุ้ยนั้นเราถือว่าฟากในของโค้งจะถือว่าเป็นนาย (เพราะได้กระแสแบบโค้งโอบ) ส่วนด้านในของโค้งนั้นถือว่าเป็นบ่าว (เพราะได้กระแสแบบเชือดเฉือน) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันระบบการชลประทานนั้นดีขึ้นมีการสร้างเขื่อนบริเวณโค้งน้ำหลายจุดเพื่อกันการหดตัวของพื้นดินบริเวณนั้นๆ หากเป็นในกรณีดังกล่าวก็จะไม่อ่านว่าโค้งเชือดเฉือนนั้นเป็นชัยภูมิที่เสียหาย
ส่วนในกรณีสุดท้ายได้แก่มังกรน้ำที่ลากกระแสมาแบบตรงๆ หรือเป็นเส้นตรง ในกรณีนี้ก็จะไม่ถือว่าเป็นชัยภูมที่ดีเป็นพิเศษ แต่ก็มีเกรดมากกว่าระดับปานกลาง เพราะถือว่ามีกระแสจ่ายผ่านหน้าที่พักอาศัยหรืออาคารของเราโดยตลอด เงื่อนไขของการที่จะทำให้เรามีฮวงจุ้ยที่ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าซินแสนั้นสามารถจะออกแบบชัยภูมิให้มีความสามารถในการดักกระแสได้มากขนาดไหนครับ
อย่างไรก็ดี การแบ่งชัยภูมิของมังกรน้ำในรูปแบบดังกล่าวนั้น จะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อเราต้องนำมาเปรียบเทียบกับองศาทิศทางของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างของเราว่ารับกับกระแสที่ดีประจำยุคที่ 8 อ้างอิงจากฮวงจุ้ยในระบบดาวเหิน (Xuan Kong Flying Star) หรือไม่ และมากกว่านั้นยังต้องสามารถวิเคราะห์แบบละเอียดลึกลงไปว่า การที่สิ่งปลูกสร้างหรืออาคารของเรานั้นเจอมังกรน้ำในรูปแบบต่างๆกัน เป็นการรับกระแสแบบมังกรน้ำไหลเข้า หรือมังกรน้ำตีจาก เพราะถึงว่าเป็นโค้งโอบแต่หากเห็นมังกรตีจากก็กลับอ่านว่าแย่ ในทางกลับกันหากเป็นโค้งเชือดเฉือน แต่หากได้องศาทิศทางที่ดีประจำยุคที่ 8 และได้รับโค้งเฉือนที่เป็นมังกรน้ำไหลเข้า ก็จะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเช่นเดียวกันครับ


 

 


Copyright©2007 by Master Tawan Lekhapat. All Rights Reserved.mastertawan@hotmail.com