The Integration of Feng Shui with Architectural Design ; Feng Shui Knowledge Center (Thailand)
  ฮวงจุ้ย วิทยาศาสตร์แห่งการบริหารพลังงานตามหลักสถาปัตยกรรมศาสตร์เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์
  อ.ตะวัน เลขะพัฒน์ โทร. 080-298-9998
 
 
 

หน้าแรก

ความรู้เรื่องฮวงจุ้ย

ข่าวสารจากทางสถาบัน

กรณีศึกษาจริง

“ฉลูทอง” 2564 จุดเริ่มต้นแห่งยุคทอง

มุ่งหามงคล หลีกเลี่ยงเคราะห์ภัย ปีหนูทอง 63

เสริมดีแก้ชง พิชิตดวงปีกุน 62

เปิดความลับฟ้าดิน ปีจอ 61

เจาะลึก ปีระกาไฟ 60

หาโอกาสผ่าวิกฤติ "ปีวอก" 59

รู้ทันฟ้ารับปี “มะแม” 58

ถอดรหัสฟ้ารับปีม้าไฟ 57

รู้ทันฮวงจุ้ยปีมะเส็ง 56 "ฝนยั่วไฟ"

• ฮวงจุ้ยดีรับปีมังกรคะนองน้ำ 55

• เสริมฮวงจุ้ยรับปี
กระต่ายตื่นทอง 54

ฮวงจุ้ยดีรับปีเสือดุ 53

ประวัติของศาสตร์ฮวงจุ้ย

วิทยาศาสตร์ของศาสตร์ฮวงจุ้ย

ฮวงจุ้ยกับชีวิตมนุษย์

สาส์นจาก อ.ตะวัน

ถอดรหัสทิศดีปี 52

หลักสูตรการอบรม

ขอบเขตการให้คำปรีกษา

ประวัติ อ.ตะวัน เลขะพัฒน์

ติดต่อ อ.ตะวัน เลขะพัฒน์

 
 

ประวัติศาสตร์ของฮวงจุ้ย

นักปราชญ์ของอาณาจักรจีนนั้นเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการพัฒนาศาสตร์ฮวงจุ้ยซึ่งเมื่อเราเอ่ยถึงคำว่าปราชญ์ของคนจีนนั้นมีความหมายยิ่งใหญ่มากกว่านักวิชาการในปัจจุบันมาก เพราะปราชญ์จีนในสมัยก่อนนั้นมีการศึกษาทั้งทางด้านศาสนาวัฒนธรรม การปกครอง การสงคราม เขียนตำราพิชัยสงคราม การแพทย์ รวมไปจนถึงฮวงจุ้ยด้วย โดยศาสตร์ฮวงจุ้ยได้รับการพัฒนามาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ย (2,100 BC – 1,700 BC) ซึ่งเป็นราชวงศ์แรกของอาณาจักรจีน โดยปราชญ์ของจีนในสมัยนั้นได้ใช้ศาสตร์ด้านฮวงจุ้ยในการหาชัยภูมิที่เหมาะสมในสร้างเมือง เช่น การตรวจดินและพืชพันธุ์ว่ามีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่ การตรวจดูกระแสน้ำว่ามีการพาพลังจากธรรมชาติเข้ามาหรือออกไป ตรวจดูสภาพลมฟ้าอากาศ รวมไปถึงสุขภาพของสัตว์ที่อาศัยอยู่ภายในชัยภูมินั้นๆด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าชัยภูมินั้นมีพลังธรรมชาติที่ดีเข้ามาหล่อเลี้ยง ซึ่งจะทำให้ผู้คนที่อยู่ในเมืองนั้นได้รับพลังที่ดีจากธรรมชาติและมีความเจริญรุ่งเรือง 

การพัฒนาการของศาสตร์ฮวงจุ้ยทางด้านชัยภูมินั้นมารุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยราชวงศ์ฉิน (220 BC – 200 BC) ซึ่งแนวคิดของศาสตร์นี้ได้ถูกพัฒนามาจากการสร้างเมืองเพื่อป้องกันการรุกรานของอาณาจักรอื่นๆ โดยทิศด้านหลังและด้านข้างของเมืองต้องเป็นภูเขาสูงเพื่อเป็นแนวป้องกันการรุกรานของข้าศึกโดยเฉพาะอาณาจักรมองโกลที่อยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งอาณาจักรมองโกลนั้นก็คือราชวงศ์หยวน (1279 AC – 1368 AC) นั่นเอง และยังเป็นการป้องกันสภาพอากาศที่หนาวเย็นเนื่องจากลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากทางด้านไซบีเรียหรือรัสเซียในปัจจุบันด้วย และนี่เป็นเหตุผลให้ทางด้านซ้ายของเมืองควรจะมีสภาพภูเขาที่สูงกว่าทางด้านขวาของเมือง ส่วนด้านหน้าของเมืองนั้นจะเป็นแม่น้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตร โดยหากแม่น้ำมีลักษณะโค้งโอบเมืองก็จะทำให้ดินในฝั่งเมืองอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีการพัดพาเอาตะกอนเข้ามาเก็บไว้ ซึ่งผลงานในการสร้างกำแพงเมืองจีนของ "ฉินสื่อหวงตี้” หรือ “จิ๋นซีฮ่องเต้” ที่เรารู้จักกันดี ก็ได้นำมาจากหลักการส่วนหนึ่งของฮวงจุ้ยทางด้านชัยภูมินี้

อย่างไรก็ตามในยุคต่อๆมานักปราชญ์ของจีนได้สังเกตว่าภูเขาที่อยู่ใกล้กันมีความอุดมสมบูรณ์ไม่เท่ากันบ้านที่อยู่ใกล้กันแต่หันทิศทางต่างกันก็มีความเจิญไม่เท่ากัน หรือคนในบ้านเดียวกันเองก็มีความเจริญรุ่งเรืองต่างกัน นักปราชญ์ของจีนจึงได้มีสมมุติฐานว่าต้องมีตัวแปรสำคัญในการกำหนดปราณชี่หรือพลังธรรมชาติที่เข้ามาสร้างความเจริญรุ่งเรืองที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของการค้นคว้าหาความรู้ในเรื่อง "องศาทิศทาง” นั่นเอง โดยศาสตร์ในด้านองศาทิศทางนั้นได้เริ่มมีการใช้งานอย่างจริงจังในสมัยปลายราชวงศ์หมิง (1368 AC – 1644 AC) โดยปรมาจารย์ “เจี่ยต้าหง” (Jiang Da Hong) ผู้เป็นเจ้าของวลี "ความลับสวรรค์ มิอาจเปิดเผยได้” (Secret of heaven cannot be disclosed) เนื่องจากในสมัยนั้นฮวงจุ้ยยังเป็นศาสตร์ทางราชสำนักห้ามในการเปิดเผย จะมีการถ่ายทอดต่อไปได้แค่เพียงภายในตระกูลของปรมาจารย์เท่านั้น โดยปรมาจารย์ท่านที่มีส่วนสำคัญในการนำศาสตร์ของฮวงจุ้ยด้านองศาทิศทางมาเปิดเผยสู่สาธารณะชนนั้นได้แก่ ปรมาจารย์ "เสิ่นจูเหยิง” (Shen Ju Reng) ท่าน "จางจงซาน” (Zhang Zhong Shan) และท่าน "ตันหยางวู” (Tan Yang Wu) 

ท่านปรมาจารย์เจี่ยต้าหงนั้นถือว่าเป็นซินแสท่านแรกที่ศึกษาในศาสตร์วิชาดาวเหิรหรือเสวียนคงเฟิงสุ่ย (Xuan Kong Feng Shui) จนแตกฉาน โดยท่านถือเป็นซินแสอันดับหนึ่งในสมัยของราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง เป็นที่เล่าขานว่าไม่ว่าท่านเดินผ่านหน้าบ้านไหน บ้านนั้นจะเจอแต่ความเจริญรุ่งรือง และทุกครั้งที่มีคนถามท่านว่าเพราะเหตุใดท่านจึงสามารถทำให้เจริญรุ่งเรืองได้ ก็มักจะได้รับคำตอบว่าเป็น "ความลับสวรรค์ มิอาจเปิดเผยได้” โดยคัมภีร์ที่ท่านเขียนไว้นั้นมิได้เผยแพร่ให้บุคคลภายนอก จะอยู่แค่ภายในตระกูลและภายในราชสำนักเท่านั้น โดยซินแสในรุ่นหลังก็ได้มีความพยายามจะถอดรหัสวิชาของท่านเพื่อนำไปศึกษาต่อไป ดังนั้นท่านปรมาจารย์เจี่ยต้าหงจึงถือว่าเป็นซินแสผู้เป็นบิดาของวิชาทางด้านองศาทิศทางวึ่งถือว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงที่สุดของวิชาฮวงจุ้ย 

ส่วนท่านปรมาจารย์จางซงซาง, เสิ่นจูเหยิง และตันหยางวู นั้นถือเป็นปรมาจารย์รุ่นถัดมาที่ได้ถอดรหัสวิชาของเสวียนคงเฟิงสุ่ยมาจากท่านปรมาจารย์เจี่ยต้าหงและได้นำมาเผยแพร่ให้กับสาธารณะชนภายนอก โดยท่านปรมาจารย์เสิ่นจูเหยิงผู้นั้นถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากซินแสในรุ่นปัจจุบันมากที่สุด เพราะเป็นผู้ถอดรหัสวิชาของท่านปรมาจารย์เจี่ยต้าหงได้เป็นอย่างดีและนำมาเขียนเป็นคัมภีร์รวมทั้งถ่ายทอดให้แก่ซินแสรุ่นหลังโดยไม่เก็บเนื้อหาวิชาที่สำคัญไว้อย่างซินแสในรุ่นก่อนๆ โดยหลักวิชาเสวียนคงเฟิงสุ่ยหรือระบบดาวเหิรที่ซินแสชั้นนำของมาเลเซีย, สิงคโปร์ และ ฮ่องกง ได้นำมาใช้ก็เป็นเนื้อหาที่ปรมาจารย์เสิ่นจูเหยิงได้ถ่ายทอดไว้ในสมัยปลายราชวงศ์ชิงนั่นเอง 

ลำดับของการพัฒนาศาสตร์เสวียนคงเฟิงสุ่ยหรือดาวเหิร

1

 

ศาสตร์ฮวงจุ้ยนั้นมีการพัฒนามาเนิ่นนานกว่า 4,000 ปี อย่างไรศาสตร์ทางด้านองศาทิศทางที่ได้รับการยอมรับจากซินแสชั้นนำทั่วโลกในปัจจุบันนั้นได้รับการพัฒนามาประมาณ 400 ปี ปรมาจารย์เจี่ยต้าหงนั้นเป็นผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นบิดาของศาสตร์ดาวเหิรแต่เนื่องด้วยการที่ศาสตร์ฮวงจุ้ยในสมัยก่อนถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับสาธารณะชนทั่วไป ลักษณะการถ่ายทอดของปรมาจารย์เจี่ยต้าหงจึงออกมาในรูปของการเอ่ยถึงเรื่องฮวงจุ้ยเป็นเรื่องมหัศจรรย์และปาฏิหารย์ ในขณะที่ปรมาจารย์จางจงซานนั้นเป็นซินแสผู้นำวิชาเสวียคงเฟิงสุ่ยมาใช้หลังจากสมัยของปรมาจารย์เจี่ยต้าหงประมาณ 150 ปี ก็มิได้มีการพยายามถ่ายทอดแก่สาธารณชนรุ่นหลังแต่อย่างใด จะมีเพียงปรมาจารย์เสิ่งจูเหยิงเท่านั้นที่ได้ทำการเปิดเผยความลับสววรค์ของวิชาเสวียนคงเฟิงสุ่ยโดยไม่มีการเก็บงำความลับใดๆให้แก่สาธารณชนรุ่นหลัง โดยมีท่านปรมาจารย์ตันหยางวูเป็นผู้นำวิชาของท่านปรมาจารย์เสิ่นจูเหยิงไปทดสอบว่าเป็นหลักวิชาการที่มีความแม่นยำจริง โดยท่านปรมาจารย์ตันหยางวูนั้นเป็นซินแสในรุ่นหลังในช่วงที่อาณาจักรจีนเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบสาธารณะรัฐ

อย่างไรก็ตามเนื่องจากการที่ปรมาจารย์เสิ่นจูเหยิงได้ทำการเปิดเผยศาสตร์ของเสวียนคงเฟิงสุ่ยออกสู่สาธารณะชนอย่างไม่มีเงื่อนไขทำให้การเข้าถึงศาสตร์ดังกล่าวนั้นเป็นไปได้ง่ายกว่าในสมัยของปรมาจารย์เจี่ยต้าหง ดังนั้นทำให้ซินแสรุ่นหลังเห็นถึงความสำคัญของวิชาเสวียนคงเฟิงสุ่ยน้อยลง ให้ความสำคัญกับการศึกษาให้ถึงแก่นแท้น้อยลง จึงเป็นที่มาของการที่มีผู้ศึกษาวิชาดังกล่าวได้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้และทำให้เกิดการเผยแพร่หลักวิชาการที่ไม่สมบูรณ์ออกไปในรุ่นถัดๆมา ดังนั้นในฐานะของซินแสรุ่นใหม่เราควรให้ความสำคัญของการศึกษาศาสตร์ฮวงจุ้ยให้ตกผลึกอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะนำไปให้คำปรึกษาสู่สาธารณะชนต่อไป


 

 

 

 


Copyright©2007 by Master Tawan Lekhapat. All Rights Reserved.mastertawan@hotmail.com